Skip to main content

จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อหา ประวัติศาสตร์[แก้] หน่วยการปกครอง[แก้] เจ้าเมืองนครและผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้] เศรษฐกิจ[แก้] ประชากรศาสตร์[แก้] ศาสนา[แก้] การคมนาคม[แก้] กีฬา[แก้] ทีมกีฬา[แก้] เมืองพี่เมืองน้อง[แก้] อ้างอิง[แก้] ดูเพิ่ม[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น[แก้] รายการเลือกการนำทางจังหวัดนครศรีธรรมราชคาร์พลัส เร้นท์ อะคาร์คาร์สกู๊ด เร้น อะคาร์นครแท็กซี่สารนครศรีธรรมราช : นามของนครศรีธรรมราชในประวัติศาสตร์http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htmhttp://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdfทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จากเว็บไซต์จังหวัดนครศรีธรรมราชสถิติประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราชเว็บไซต์อย่างเป็นทางการแผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราชหน้าเพจ facebook จังหวัดนครศรีธรรมราชหน้าเว็บไซต์ โรงแรมนครศรีธรรมราชจังหวัดนครศรีธรรมราช8°24′N 99°58′E / 8.4°N 99.97°E / 8.4; 99.97มัลติแมปโกลบอลไกด์กูเกิลแผนที่เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์วิกิแมเปีย

หน้าที่ใช้กล่องข้อมูลจังหวัดที่มีพารามิเตอร์ที่ไม่รู้จักจังหวัดนครศรีธรรมราชอ่าวไทย


จังหวัดประเทศไทยประชากรภาคใต้กรุงเทพมหานครสงขลาพัทลุงตรังกระบี่สุราษฎร์ธานีอาณาจักรตามพรลิงก์ภาษาสันสกฤตโปรตุเกสกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชหัวเมืองชั้นเอกพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมืองอาณาจักรอยุธยาหลวงสิทธิ นายเวรมหาดเล็ก (หนู)พม่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอาณาจักรธนบุรีพ.ศ. 2319พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเจ้าพระยาประเทศราชเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพงศาวดารเมืองสวรรคโลกอำเภอตำบลหมู่บ้านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลนครเทศบาลเมืองเทศบาลตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลเศรษฐกิจยางพาราปาล์มน้ำมันการประมงภาคใต้ศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์คาร์พลัส เร้นท์ อะคาร์คาร์สกู๊ด เร้น อะคาร์นครแท็กซี่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชนกแอร์ไทยแอร์เอเชียไทยไลอ้อนแอร์ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




จังหวัดนครศรีธรรมราช




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา


สำหรับนครศรีธรรมราช ในความหมายอื่น ดูที่ นครศรีธรรมราช (แก้ความกำกวม)































นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี


ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"


ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ




เนื้อหา





  • 1 ประวัติศาสตร์


  • 2 หน่วยการปกครอง

    • 2.1 การปกครองส่วนภูมิภาค


    • 2.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น



  • 3 เจ้าเมืองนครและผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

    • 3.1 เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช


    • 3.2 รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช



  • 4 เศรษฐกิจ


  • 5 ประชากรศาสตร์


  • 6 ศาสนา


  • 7 การคมนาคม

    • 7.1 ทางรถไฟ


    • 7.2 ทางรถโดยสารประจำทาง


    • 7.3 ทางรถยนต์ส่วนบุคคล


    • 7.4 ทางอากาศยาน


    • 7.5 บริการรถยนต์ส่วนบุคคลให้เช่า



  • 8 กีฬา

    • 8.1 กีฬาโอลิมปิก


    • 8.2 กีฬายูธโอลิมปิก


    • 8.3 กีฬาแห่งชาติ


    • 8.4 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ



  • 9 ทีมกีฬา

    • 9.1 สโมสรฟุตบอล

      • 9.1.1 ฟุตบอลชาย


      • 9.1.2 ฟุตบอลหญิง


      • 9.1.3 ฟุตบอลเยาวชนชาย



    • 9.2 สโมสรวอลเลย์บอล

      • 9.2.1 วอลเลย์บอลชาย


      • 9.2.2 วอลเลย์บอลหญิง




  • 10 เมืองพี่เมืองน้อง


  • 11 อ้างอิง


  • 12 ดูเพิ่ม


  • 13 แหล่งข้อมูลอื่น




ประวัติศาสตร์[แก้]




ต้นแซะ ที่หน้าศาลากลางนครศรีธรรมราช


นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย


จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า "นครศรีธรรมราช"ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงก์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์ (Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น 


คำว่า"นครศรีธรรมราช" น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คำนี้ แปลความได้ว่า "นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา


 ถ้าจะลำดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราช จากหลักฐาน โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ที่สืบค้น ได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแตยุคหินกลาง ในราว 8,350-11 ,000 ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน ) ที่อำเภอท่า ศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสำริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง


นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อำเภอสิชลปัจจุบัน ยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสำริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าใน ช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึง ปัจจุบันนี้


พุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ภายใต้ การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะ เนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสำคัญของคาบสมุทรไทยเป็นจุดพักถ่าย ซื้อสินค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณ หาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์ กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธองค์ความศรัทธาและ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงเป็นปัจจัยชักนำให้ผู้คน จากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น ในราว พ.ศ. 1700 เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ก็สามารถจัดการปกครอง หัวเมืองรายรอบ ได้สำเร็จถึง 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร คือ


จังหวัดนครศรีธรรมราช


ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราประจำจังหวัด

เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ
มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี
มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทยนครศรีธรรมราช
อักษรโรมันNakhon Si Thammarat
ชื่อไทยอื่น ๆนคร, เมืองคอน, คอน, นครศรี, ตามพรลิงก์, ลิกอร์, คิวคูตอน, ตันเหมยหลิง, ละคร[1]
ผู้ว่าราชการจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2559)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่9,942.502 ตร.กม.[2]
(อันดับที่ 18)
ประชากร1,557,482 คน[3] (พ.ศ. 2560)
(อันดับที่ 7)
ความหนาแน่น156.64 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 26)
ISO 3166-2TH-80
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ต้นไม้แซะ
ดอกไม้ราชพฤกษ์
สัตว์น้ำปลาหมอ
ศาลากลางจังหวัด
ที่ตั้งถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์0 7535 6952
โทรสาร0 7535 6531
เว็บไซต์จังหวัดนครศรีธรรมราช
แผนที่

ประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราชเน้นสีแดง
เกี่ยวกับภาพนี้


สารานุกรมประเทศไทยส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย




































1
เมืองสายบุรี
ตราหนู
2
เมืองปัตตานี
ตราวัว
 3
เมืองกลันตัน
ตราเสือ
 4
เมืองปาหัง
ตรากระต่าย
 5
เมืองไทรบุรี
ตรางูใหญ่
 6
เมืองพัทลุง
ตรางูเล็ก
 7
เมืองตรัง
ตราม้า
 8
เมืองชุมพร
ตราแพะ
 9
เมืองปันทายสมอ(กระบี่)
ตราลิง
 10
เมืองสระอุเลา (สงขลา)
ตราไก่
 11
เมืองตะกั่วป่า ถลาง
ตราหมา
 12
เมืองกระบุรี
ตราหมู

จากหลักฐานตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตลอดถึงวรรณกรรมเรื่องพระนิพพานสูตรทุกสำนวน ต่างยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความ รุ่งเรืองไพศาลของนครศรีธรรมราช ในยุคดังกล่าวและสามารถควบคุมหัวเมือง อื่น ๆ ได้ทั่ว ถึงคาบสมุทร มีแสนยานุภาพเกรียงไกรถึงขนาดกรีธาทัพไปตีลังกาถึงสองครั้ง


 เหนือสิ่งอื่นใดราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นอย่างมั่นคงในนครศรีธรรมราช มีการบูรณะพระเจดีย์เดิม ให้เป็นทรงระฆังคว่ำ อันเป็น ศิลปะลังกา จนนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นเมืองแม่แห่งวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมไปยัง หัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสุโขทัยซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่ม ก่อตัวขึ้นเป็นราช ธานีทาง ภาคเหนือตอนล่างใหม่ ๆ 


เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา (อาณาจักรอยุธยา) ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ว่างอยู่ หลวงสิทธิ นายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการ ตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียกรุง แก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิ จึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง


ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยาตรากองทัพไปปราบ และ จับตัวเจ้านคร (หนู) ได้ และมีพระราชดำริว่า เจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี หรือ อาณาจักรธนบุรี และให้ เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอ ออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช


ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชดำริว่า เจ้านคร (หนู) ได้เข้ามารับราชการ มีความจงรักภักดี และได้ถวายธิดาทำราชการ มีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา (หนู) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138 (พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก


ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราช มีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราช จึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี


มีเกร็ดย่อย คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการ จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้ง พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)คนใหม่


แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับ ของพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านคร (หนู) ทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาว (ปราง) มาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจ จะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านคร จึงนำธิดา (ปราง) คนนี้ ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี เสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านคร (หนู) เสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิต ก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านคร (หนู) ให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านคร (หนู) ไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธน ตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนาง พาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมี ก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์ อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (ปริก)



หน่วยการปกครอง[แก้]



การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]


การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้าน






  1. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

  2. อำเภอพรหมคีรี

  3. อำเภอลานสกา

  4. อำเภอฉวาง

  5. อำเภอพิปูน

  6. อำเภอเชียรใหญ่

  7. อำเภอชะอวด

  8. อำเภอท่าศาลา

  9. อำเภอทุ่งสง

  10. อำเภอนาบอน

  11. อำเภอทุ่งใหญ่

  12. อำเภอปากพนัง



  1. อำเภอร่อนพิบูลย์


  2. อำเภอสิชล


  3. อำเภอขนอม


  4. อำเภอหัวไทร


  5. อำเภอบางขัน


  6. อำเภอถ้ำพรรณรา


  7. อำเภอจุฬาภรณ์


  8. อำเภอพระพรหม


  9. อำเภอนบพิตำ


  10. อำเภอช้างกลาง


  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

 Amphoe Nakhon Si Thammarat bbbb.jpg


การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]



แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 50 เทศบาลตำบล และ 130 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้









  1. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

  2. เทศบาลเมืองทุ่งสง

  3. เทศบาลเมืองปากพนัง

  4. เทศบาลเมืองปากพูน

  5. เทศบาลตำบลกะทูน

  6. เทศบาลตำบลกะปาง

  7. เทศบาลตำบลการะเกด

  8. เทศบาลตำบลเกาะทวด

  9. เทศบาลตำบลเกาะเพชร



  1. เทศบาลตำบลขนอม


  2. เทศบาลตำบลขุนทะเล


  3. เทศบาลตำบลเขาชุมทอง


  4. เทศบาลตำบลเขาพระ


  5. เทศบาลตำบลควนกลาง


  6. เทศบาลตำบลจันดี


  7. เทศบาลตำบลฉวาง


  8. เทศบาลตำบลชะมาย


  9. เทศบาลตำบลชะเมา




  1. เทศบาลตำบลชะอวด


  2. เทศบาลตำบลเชียรใหญ่


  3. เทศบาลตำบลดอนตรอ


  4. เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่


  5. เทศบาลตำบลท้องเนียน


  6. เทศบาลตำบลทอนหงส์


  7. เทศบาลตำบลทางพูน


  8. เทศบาลตำบลท่างิ้ว


  9. เทศบาลตำบลท่าประจะ




  1. เทศบาลตำบลท่าแพ


  2. เทศบาลตำบลท่ายาง


  3. เทศบาลตำบลท่าศาลา


  4. เทศบาลตำบลที่วัง


  5. เทศบาลตำบลทุ่งสัง


  6. เทศบาลตำบลทุ่งใส


  7. เทศบาลตำบลนาบอน


  8. เทศบาลตำบลนาสาร


  9. เทศบาลตำบลนาเหรง




  1. เทศบาลตำบลบางจาก


  2. เทศบาลตำบลบางพระ


  3. เทศบาลตำบลปากนคร


  4. เทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง


  5. เทศบาลตำบลพรหมคีรี


  6. เทศบาลตำบลพรหมโลก


  7. เทศบาลตำบลพิปูน


  8. เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ


  9. เทศบาลตำบลไม้เรียง




  1. เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์


  2. เทศบาลตำบลลานสกา


  3. เทศบาลตำบลสวนขัน


  4. เทศบาลตำบลสิชล


  5. เทศบาลตำบลหน้าสตน


  6. เทศบาลตำบลหลักช้าง


  7. เทศบาลตำบลหัวไทร


  8. เทศบาลตำบลหินตก


  9. เทศบาลตำบลอ่าวขนอม


เจ้าเมืองนครและผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]



เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช[แก้]


























ลำดับ
รายนาม[4]เริ่มต้น
สิ้นสุด
1

พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู)
2319
2325
2

เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)
2325
2357
3

เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)
2357
2381
4
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)
2384
2410
5
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร)
2410
2440


รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]
























































































































































ลำดับ
รายนาม[5]ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ลำดับ
รายนาม
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช
(หนูพร้อม ณ นคร)
พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2447
2
พระยาสุนทราทรธุรกิจปรีชา
(หมี ณ ถลาง)
พ.ศ. 2447 – พ.ศ. 2449
3
พระยาตรังภูษาภิบาล
(ถนอม บุณยเกตุ)
พ.ศ. 2449 – พ.ศ. 2452
4
พระยาศิริธรรมบริรักษ์
(เย็น สุวรรณปัทมะ)
พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2455
5
พระยาประชากิจกรจักร์
(ฟัด มหาเปารยะ)
พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2462
6

พระยารัษฎานุประดิษฐ์
(สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
พ.ศ. 2462 – พ.ศ. 2474
7
พระยาสุรพลนิพิธ
(เป้า สุมนดิษฐ์)
พ.ศ. 2474 – พ.ศ. 2475
8
พระยาบุรีสราธิการ
(โจ้ กนิษฐารัตน์)
พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2476
9
พระอรรถานิพนธ์ปรีชา
(ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา)
พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2477
10
พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม
(เต่า ศตะกูรมะ)
พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2481
11
เรือเอก พระสาครบุรานุรักษ์ราชนาวี
(ปริก สุวรรณนนท์)
พ.ศ. 2481 – พ.ศ. 2484
12
เรืออากาศเอก หลวงวุฒิราษฎร์รักษา
(วุฒิ ศรสงคราม วุฒิราษฎร์รักษา)
พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2486
13
ขุนภักดีดำรงฤทธิ์
(ภักดี ดำรงฤทธิ์)
พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2489
14
ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์
(สมวงศ์ วัฏฏสิงห์)
พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2489
15
นายแม้น ออนจันทร์
พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2493
16
ขุนอารีราชการัณย์
(ชิต สุมนดิษฐ์)
พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494
17
ขุนไมตรีประชารักษ์
(ไมตรี พิจิตรนรการ)
พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2495
18
ขุนพิเศษนครกิจ
(ชุบ กลิ่นสุคนธ์)
พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2497
19
ขุนจรรยาวิเศษ
(เที่ยง บุญยนิตย์)
พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2500
20
นายมงคล สุภาพงษ์
พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2501
21
นายจันทร์ สมบูรณ์กุล
พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503
22
นายสันต์ เอกมหาชัย
พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2512
23
นายพันธ์ ลายตระกูล
พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514
24
นายคล้าย จิตพิทักษ์
พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2518
25
นายเวียง สาครสินธุ์
พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2518
26
นายศุภโยค พานิชวิทย์
พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2519
27
นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร
พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2521
28
นายธานี โรจรนาลักษณ์
พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2525
29

นายเอนก สิทธิประศาสน์
พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2529
30
เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง
พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2530
31
นายนิพนธ์ บุญญภัทโร
พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2532
32
พันโทกมล ประจวบเหมาะ
พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2533
33
ร้อยตรีณรงค์ แสงสุริยงค์
พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2534
34
ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้ว
พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2535
35
นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล
พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536
36
นายสุชาญ พงษ์เหนือ
พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2537
37

นายบัญญัติ จันทน์เสนะ
พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538
38
นายประกิต เทพชนะ
พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2540
39

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2541
40
นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์
พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2544
41
นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์
พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2547
42
นายวิชม ทองสงค์
พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551
43

นายภาณุ อุทัยรัตน์
พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2552
44
นายธีระ มินทราศักดิ์
พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2554
45
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์
พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2556
46
นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์
พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2557
47

นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า
พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2559
48
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา
พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน


เศรษฐกิจ[แก้]


เศรษฐกิจโดยทั่วไป ของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นอยู่กับภาคเกษตร อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์มน้ำมัน ทำนา ทำไร่ การปลูกผลไม้(สวนสมรม) ทำสวนมะพร้าว การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาจากการสำรวจ จ้า


พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เท่ากับ 105,598 บาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 10 ของภาคใต้ และอันดับที่ 34 ของประเทศ



ประชากรศาสตร์[แก้]


      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน






































































































































































































































































































































อำเภอ/ปี
พื้นที่
(ตร.กม.)
2561
(คน)
2560
(คน)
2559
(คน)
2558
(คน)
2557
(คน)
2556
(คน)
2555
(คน)
2554
(คน)
2553
(คน)
2552
(คน)
2551
(คน)
เมืองนครศรีธรรมราช
617.40
272,502
271,848
271,330
271,126
270,099
268,900
268,010
267,148
267,440
266,613
267,232
ทุ่งสง
802.97
161,685
161,356
160,724
159,924
159,174
156,991
155,786
154,042
152,808
151,563
151,122
ท่าศาลา
363.89
116,307
113,397
113,067
112,565
111,879
111,295
110,327
109,418
108,834
108,170
108,006
ปากพนัง
422.50
98,857
99,301
99,562
99,969
100,318
100,957
101,533
101,877
102,607
103,268
104,011
สิชล
703.10
88,953
88,884
88,611
88,283
87,802
87,472
87,063
86,383
86,231
85,791
85,299
ชะอวด
833.00
86,474
86,664
86,507
86,558
86,466
86,319
85,968
85,602
85,403
85,067
84,851
ร่อนพิบูลย์
335.50
82,330
82,255
82,031
81,976
81,810
81,675
81,330
80,990
81,116
81,110
80,893
ทุ่งใหญ่
603.28
74,667
74,691
74,317
73,994
73,662
73,201
72,605
71,638
71,121
70,386
69,739
ฉวาง
528.20
67,083
67,160
67,293
67,425
67,380
67,332
67,021
66,726
66,491
66,286
66,179
หัวไทร
417.73
66,189
66,486
66,503
66,679
66,787
66,863
66,912
66,877
67,055
67,243
67,434
บางขัน
601.70
47,345
47,221
46,914
46,752
46,474
46,126
45,487
44,829
44,182
43,467
42,990
พระพรหม
148.00
44,197
43,906
43,588
43,391
43,096
42,821
42,499
42,099
41,787
41,638
41,516
เชียรใหญ่
232.70
43,152
43,318
43,457
43,500
43,533
43,598
43,584
43,542
43,571
43,657
43,890
ลานสกา
342.90
40,910
40,952
40,900
40,875
40,783
40,560
40,406
40,223
40,291
40,209
40,162
พรหมคีรี
321.50
37,437
37,530
37,513
37,461
37,363
37,072
36,906
36,492
36,435
36,227
36,092
นบพิตำ
720.15
33,543
33,551
33,320
33,183
32,882
32,605
32,219
31,849
31,488
31,125
30,785
จุฬาภรณ์
192.50
31,733
31,743
31,584
31,481
31,441
31,337
31,151
30,968
30,935
30,816
30,720
เฉลิมพระเกียรติ
124.10
31,562
31,597
31,572
31,549
31,564
31,502
31,551
31,625
31,919
31,854
31,986
ขนอม
433.90
30,422
30,446
30,393
30,234
30,022
29,792
29,561
29,342
29,026
28,763
28,397
ช้างกลาง
232.50
29,908
29,900
29,909
30,081
30,064
30,036
30,049
29,928
29,949
29,914
29,833
พิปูน
363.80
29,122
29,216
29,226
29,269
29,307
29,330
29,243
29,038
28,781
28,630
28,486
นาบอน
192.89
26,778
26,814
26,934
27,077
27,001
27,018
26,897
26,845
26,686
26,504
26,489
ถ้ำพรรณรา
169.10
19,277
19,246
19,177
19,178
19,121
19,041
18,810
18,590
18,405
18,270
18,051
รวมทั้งจังหวัด
9,942.502
1,560,433
1,557,482
1,554,432
1,552,530
1,548,028
1,541,843
1,534,887
1,526,071
1,522,561
1,516,499
1,513,163
  • อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[6]


ศาสนา[แก้]


ชาวนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ประมาณ 92.08% รองลงมา คือ ศาสนาอิสลาม ประมาณ 7.03% ศาสนาคริสต์ ประมาณ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,516,499 คน ปี พ.ศ. 2552)



การคมนาคม[แก้]




สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช




สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช


ท่านสามารถใช้บริการรถเช่าแบบขับเองได้เมื่อเดินทางมายังนครศรีธรรมราชทั้ง คาร์พลัส เร้นท์ อะคาร์, คาร์สกู๊ด เร้น อะคาร์, นครแท็กซี่ หรือท่านสามารถเรียกบริการรถเช่าและแท็กซี่ได้ที่ โทร.085-369-2772




ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช


ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถว วิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่อำเภอใกล้เคียง หรือจังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งมีรถตู้ รถเมล์ รถโดยสาร และรถไฟ



ทางรถไฟ[แก้]


  • รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพ มีขบวนรถเร็วขบวนที่173/174 , รถด่วนขบวนที่85/86 ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร

และ ยังมีขบวนรถท้องถิ่นที่451/452 นครศรีธรรมราช-สุไหงโกลก-นครศรีธรรมราช
และ ขบวนรถท้องถิ่นที่455/456 นครศรีธรรมราช-ยะลา-นครศรีธรรมราช



ทางรถโดยสารประจำทาง[แก้]


บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี), อำเภอขนอม มีรถ วีไอพี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ขนอม



ทางรถยนต์ส่วนบุคคล[แก้]


การเดินทางจากกรุงเทพ มายัง นครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือ ถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเล ไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางยังอำเภออื่น ๆ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้อีกด้วย



ทางอากาศยาน[แก้]


ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช มีเที่ยวบินให้บริการ 12 เที่ยวบินต่อวัน โดยมี 3 สายการบินคือ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชียและ ไทยไลอ้อนแอร์ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช



บริการรถยนต์ส่วนบุคคลให้เช่า[แก้]


อัตราค่าบริการมาตรฐานอยู่ที่ 1,100 บาทต่อวัน หรือมากกว่าตามขนาดของรถยนต์ สามารถรับและคืนรถได้ที่ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช และตัวเมือง



กีฬา[แก้]



กีฬาโอลิมปิก[แก้]


ดูเพิ่มเติมที่: กีฬาโอลิมปิก











เหรียญ
นักกีฬา
การแข่งขัน
กีฬา
ชนิด

3Bronze medal icon.svg ทองแดง
เพ็ญศิริ เหล่าศิริกุล
ประเทศจีน ปักกิ่ง 2008

ยกน้ำหนัก
หญิง รุ่น 48 กก.


กีฬายูธโอลิมปิก[แก้]


ดูเพิ่มเติมที่: กีฬาโอลิมปิกเยาวชน











เหรียญ
นักกีฬา
การแข่งขัน
กีฬา
ชนิด

1Gold medal icon.svg ทอง
สุพัชนินทร์ คำแหง
อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส 2018

ยกน้ำหนัก
หญิง รุ่น +63 กก.







ทีมกีฬา[แก้]



สโมสรฟุตบอล[แก้]



ฟุตบอลชาย[แก้]
































































ฟุตบอลชาย
สโมสร
ลีก
ระดับ
ปี
ภูมิภาค
อันดับ

นครศรีธรรมราช เอฟซี

ไทยลีก ดิวิชั่น 2

ระดับ 3

2552
โซนภาคใต้
3

2553
โซนภาคใต้
11

2554
โซนภาคใต้
13

2555
โซนภาคใต้
7

นครศรี เฮอริเทจ

ไทยลีก ดิวิชั่น 2

ระดับ 3

2556
โซนภาคใต้
9

2557
โซนภาคใต้
12

2558
โซนภาคใต้
9

2559
โซนภาคใต้
12

เมืองคอน ยูไนเต็ด

ไทยลีก ดิวิชัน 3

ระดับ 4

2559
โซนภาคใต้
4

ไทยลีก 5

ระดับ 5

2560
โซนภาคใต้ตอนบน
2

2561
โซนภาคใต้ตอนบน


นครศรีธรรมราช ยูนิตี้

ไทยลีก 3

ระดับ 3

2560
โซนตอนล่าง
8

นครศรี ยูไนเต็ด

ไทยลีก 3

ระดับ 3

2561
โซนตอนล่าง


ฟุตบอลหญิง[แก้]


























ฟุตบอลหญิง
สโมสร
ลีก
ระดับ
ปี
ภูมิภาค
อันดับ
ทุ่งสง ซิตี้
ไทยวีเมนลีก ดิวิชั่น 1

ระดับ 2
2554
ไม่มี
5
สมาคมกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ไทยวีเมนลีก ดิวิชั่น 1

ระดับ 2
2556
ไม่มี
2
นครศรี เลดี้ เอสเอส

ไทยวีเมนส์ลีก

ระดับ 1

2560
ไม่มี
6


ฟุตบอลเยาวชนชาย[แก้]



































ฟุตบอลเยาวชนชาย
สโมสร
ลีก
ระดับ
ปี
ภูมิภาค
อันดับ

นครศรี เฮอริเทจ

ไทยแลนด์ยูธลีก (รุ่นอายุไม่เกิน 13 ปี)

ระดับ 1

2559
โซนภาคใต้
4

2560
โซนภาคใต้
3
สมาคมกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ไทยแลนด์ยูธลีก (รุ่นอายุไม่เกิน 13 ปี)

ระดับ 1

2560
โซนภาคใต้
8

นครศรี เฮอริเทจ

ไทยแลนด์ยูธลีก (รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี)

ระดับ 1

2559
โซนภาคใต้
2

นครศรีธรรมราช ยูนิตี้

ไทยแลนด์ยูธลีก (รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี)

ระดับ 1

2560
โซนภาคใต้
4


สโมสรวอลเลย์บอล[แก้]



วอลเลย์บอลชาย[แก้]














วอลเลย์บอลชาย
สโมสร
ลีก
ระดับ
ปี
ภูมิภาค
อันดับ
สุพรีม นครศรีธรรมราช

วอลเลย์บอลชายไทยแลนด์ลีก
ระดับ 1

2554
ไม่มี
8


วอลเลย์บอลหญิง[แก้]




















ฟุตบอลเยาวชนชาย
สโมสร
ลีก
ระดับ
ปี
ภูมิภาค
อันดับ

สุพรีม นครศรีธรรมราช

วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก
ระดับ 1

2554
ไม่มี
5

2555
ไม่มี
2

2556
ไม่มี
5


เมืองพี่เมืองน้อง[แก้]

















เมือง
วันลงนาม
หมายเหตุ

ประเทศจีน เมืองกุ้ยกั่ง ประเทศจีน
9 กันยายน 2559
หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อเป็นเมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและเมืองกุ้ยก่าง

ไทย จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
17 มีนาคม 2560
บันทึกความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะระหว่างจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครศรีธรรมราช

ไทย จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
16 มิถุนายน 2560
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดนครพนม

ประเทศจีน เมืองผิงเสียง ประเทศจีน
1 มิถุนายน 2561
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสถาปนาบ้านพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและเมืองผิงเสียง


อ้างอิง[แก้]




  1. สารนครศรีธรรมราช : นามของนครศรีธรรมราชในประวัติศาสตร์


  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.


  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 24 มีนาคม 2561.


  4. http://www.xn--42c3as5b.com/16392809/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%91-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9


  5. ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จากเว็บไซต์จังหวัดนครศรีธรรมราช


  6. สถิติประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราช




ดูเพิ่ม[แก้]


  • รายชื่อวัดในจังหวัดนครศรีธรรมราช

  • รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช

  • โรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช

  • สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครศรีธรรมราช

  • สโมสรฟุตบอลนครศรี เฮอริเทจ


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

  • แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • หน้าเพจ facebook จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • หน้าเว็บไซต์ โรงแรมนครศรีธรรมราช















พิกัดภูมิศาสตร์: 8°24′N 99°58′E / 8.4°N 99.97°E / 8.4; 99.97


  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่

    • ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

    • ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย




ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=จังหวัดนครศรีธรรมราช&oldid=8210656"










รายการเลือกการนำทาง



























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.560","walltime":"0.800","ppvisitednodes":"value":3706,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":226123,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":32896,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":11,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":62391,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":1,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 492.488 1 -total"," 32.54% 160.241 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_จังหวัด"," 24.33% 119.813 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล"," 20.83% 102.591 1 แม่แบบ:Geolinks-city"," 20.27% 99.844 1 แม่แบบ:Coord"," 13.04% 64.221 1 แม่แบบ:Imagemap_Thailand"," 10.88% 53.576 4 แม่แบบ:Navbox"," 9.42% 46.370 1 แม่แบบ:จังหวัด/นครศรีธรรมราช"," 8.61% 42.386 1 แม่แบบ:จังหวัดเขียว"," 5.79% 28.513 1 แม่แบบ:ข้อความแก้กำกวม"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.095","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":1944088,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1324","timestamp":"20190414174444","ttl":2592000,"transientcontent":false);mw.config.set("wgBackendResponseTime":116,"wgHostname":"mw1332"););

Popular posts from this blog

کانن (شرکت) محتویات تاریخچه[ویرایش] بخشی از تولیدات موفق این شرکت[ویرایش] در رده APS-C[ویرایش] گزارش محیط زیست[ویرایش] رده‌بندی محصولات[ویرایش] منابع[ویرایش] پانویس[ویرایش] پیوند به بیرون[ویرایش] منوی ناوبریwww.canon.comموزه آنلاین دوربین‌های کانننمودار تاریخچه سهام کاننوبگاه رسمی شرکت کاننوووووIDC Worldwide Hardcopy 2013

Rest API with Magento using PHP with example. Planned maintenance scheduled April 17/18, 2019 at 00:00UTC (8:00pm US/Eastern) Announcing the arrival of Valued Associate #679: Cesar Manara Unicorn Meta Zoo #1: Why another podcast?How to update product using magento client library for PHP?Oauth Error while extending Magento Rest APINot showing my custom api in wsdl(url) and web service list?Using Magento API(REST) via IXMLHTTPRequest COM ObjectHow to login in Magento website using REST APIREST api call for Guest userMagento API calling using HTML and javascriptUse API rest media management by storeView code (admin)Magento REST API Example ErrorsHow to log all rest api calls in magento2?How to update product using magento client library for PHP?

Magento 2 - Auto login with specific URL Planned maintenance scheduled April 23, 2019 at 23:30 UTC (7:30pm US/Eastern) Announcing the arrival of Valued Associate #679: Cesar Manara Unicorn Meta Zoo #1: Why another podcast?Customer can't login - Page refreshes but nothing happensCustom Login page redirectURL to login with redirect URL after completionCustomer login is case sensitiveLogin with phone number or email address - Magento 1.9Magento 2: Set Customer Account Confirmation StatusCustomer auto connect from URLHow to call customer login form in the custom module action magento 2?Change of customer login error message magento2Referrer URL in modal login form